ประวัติข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลิ (Thai Jasmine Rice)
ข้าวกล้องอุดมด้วยเส้นใยอาหาร ช่วยป้องกัน โรคเหน็บชา โรคโลหิตจาง
ข้าวหอมมะลิ เป็น สายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกําเนิดในประเทศไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย และเป็นพันธ์ุข้าว ที่ทําให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก
เมื่อปี พ.ศ. 2497 นายสุนทร สีหเนิน พนักงานข้าว จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รวบรวมพันธุ์ข้าวหอมในเขตอําเภอบางคล้า ได้จํานวน 199 รวง แล้ว ดร.ครุย บุณยสิงห์ (ผู้อํานวยการกองบํารุงพันธุ์ข้าวในขณะนั้น)ได้ส่งไปปลูกคัดพันธ์ุบริสุทธิ์ และเปรียบเทียบพันธ์ุที่ สถานีทดลองข้าวโคกสําโรง (ขณะน้ีเป็นสถานีข้าวลพบุรี) ดําเนินการคัดพันธุ์โดยนักวิชาการเกษตรชื่อ นายมังกร จูมทอง ภายใต้การดูและของนายโอภาส พลศิลป์ หัวหน้าสถานีทดลองข้าวโคกสําโรง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2502 ได้พันธุ์บริสุทธิ์ข้าวขาวดอกมะลิ 4-2-105 และคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ข้าวได้อนุมัติให้เป็น พันธุ์ส่งเสริมแก่เกษตรกร เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 โดยเกษตรกรท่ัวไปเรียกว่า [ขาวดอกมะลิ 105] ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธ์ุข้าว [ขาวดอกมะลิ 105] จนได้ข้าวพันธ์ุ [กข 15] ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ประกาศให้
ข้าวทั้ง 2 พันธุ์เป็นข้าวหอมมะลิไทย ข้าวหอมมะลิในปัจจุบันที่ นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายคือพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 และ พันธุ์ กข.15
ความหอมของ ข้าวหอมมะลิ เกิดจากสารระเหยชื่อ 2-acetyl-1-pyroline ซึ่งเป็นสารที่ระเหยหายไปได้ การรักษาความหอมของข้าวหอมมะลิให้คงอยู่นานนั้น ควรเก็บข้าวไว้ในที่เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส
ข้าวกล้องอุดมด้วยเส้นใยอาหาร ช่วยป้องกัน โรคเหน็บชา โรคโลหิตจาง
บทความสาระน่ารู้อื่นๆ
ได้รับการรับรองระบบประกันคุณภาพ GMP, HACCP, ISO 9001 และผ่านการตรวจระบบ BRC ในปี 2558
สำนักงานใหญ่
640 ซอยสาธุประดิษฐ์ 58 แยก 22 (ประสานใจ) แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120